Mobile Suit Gundam Wing กับตำนาน “กันดั้มที่ตีตลาดอเมริกาได้สำเร็จ”
09 มกราคม 2565 23:58 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

 

mobile-suit-gundam-wing-bring-anime-franchise-to-success (1)

Mobile Suit Gundam Wing หรือ New Mobile Report Gundam Wing ซีรีส์กันดั้มยอดนิยมที่เริ่มฉายในประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี 1995 ไปจนถึง 1996 ซึ่งกันดั้มวิงนั้นเป็นซีรีส์ลำดับที่ 2 ที่เปิดโลกใหม่ ออกจากจุดยืนเดิมอย่างการอยู่ในศักราช อวกาศ หรือ Universal Century Timeline ต่อจาก Mobile Fighter G Gundam ที่ประสบความสำเร็จไม่น้อยเลยทีเดียว

 mobile-suit-gundam-wing-bring-anime-franchise-to-success (2)

การที่ G Gundam และ Gundam Wing ไม่ได้อยู่ภายใต้กรอบ UC เดียวกับภาคก่อนๆหน้า ก็เนื่องจากว่าเหล่าทีมผู้สร้างกันดั้มนั้นมองว่า อยากลองทำสิ่งใหม่ๆ เริ่มต้นในจุดที่แตกต่างจากเดิม เพื่อ “Refresh” แฟรนไชส์กันดั้ม ซึ่งแน่นอนว่าผลตอบรับในประเทศญี่ปุ่นนั้นดีทีเดียว ไม่แพ้เหล่ากันดั้มรุ่นพี่ที่อยู่ในกรอบ Universal Century   

 

ในช่วงเวลาก่อนปี 2000  แฟรนไชส์กันดั้มต้องการที่จะขยายอิทธิพลและชื่อเสียงของตนเองให้กว้างขึ้น โดยมีตลาดเป้าหมายหลักก็คือ “สหรัฐอเมริกา”

 

mobile-suit-gundam-wing-bring-anime-franchise-to-success (1)

Mobile Suit Gundam Wing ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกที่ Sunrise และ Bandai มีความต้องการร่วมกันในการตีตลาดอเมริกาให้ได้ พวกเขาเริ่มด้วยแนวคิดที่ว่า “หากจะบุกตลาดใหม่ เราก็น่าจะเริ่มด้วยจุดเริ่มต้นของเรา” และพวกเขาก็ลุยตีตลาดอเมริกาโดยส่ง “Mobile Suit Gundam” (ฉบับมูฟวี่ 3 ตอน) ไปยังอเมริกา แต่ความพยายามในครั้งนี้ไม่ส่งผลสำเร็จเท่าไหร่

 

 

การเริ่มต้นสร้างรากฐานในอเมริกา

mobile-suit-gundam-wing-bring-anime-franchise-to-success (2)

เหล่าโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ และบริษัทของเล่นต่างๆในอเมริกา ได้พยายามนำเข้าสินค้าของเล่นญี่ปุ่นมาก่อนสักพักใหญ่ๆแล้ว เรียกได้ว่าตั้งแต่ช่วงยุค 70 เลยทีเดียว นอกจากนี้ก็ยังมีการ “Localize” โชว์หรือรายการต่างๆของญี่ปุ่น เช่น Super Sentai ให้กลายเป็นรายการ Power Rangers ในสหรัฐ

 

mobile-suit-gundam-wing-bring-anime-franchise-to-success (3)

มาถึงช่วงยุคต้น 90   Bandai ได้เดินหน้ารุกนำเข้าสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือการ์ตูน ของเล่นของสะสม และ Goods ต่างๆ จากการ์ตูนดังอย่าง Sailor Moon, Dragonball Z, Power Rangers (Sentai) มาสู่อเมริกา

 

 

 

Cartoon Network และ Toonami

Cartoon Network เป็นช่องการ์ตูนที่เกิดขึ้นในปี 1992 และอัดแน่นไปด้วยคลังการ์ตูนมากมายจาก MGM, Hanna-barbara และ Looney Toons   5 ปีต่อมาในปี 1997 ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “เปิดประตูให้กับการมาของกันดั้ม” 

 

ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการออกกฎหมายควบคุมสื่อต่างๆสำหรับเด็กในสหรัฐอเมริกาขึ้นมา (TV Rating System) ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือ การ์ตูนสำหรับเด็กจะฉายอยู่ช่วงกลางวัน ส่วนการ์ตูนที่มีเนื้อหาปานกลางไปถึงรุนแรง จะถูกบังคับให้ไปฉายช่วงกลางคืน เพื่อลดความเสี่ยงที่เด็กจะเสพสื่อเหล่านี้

 

mobile-suit-gundam-wing-bring-anime-franchise-to-success (3)

Cartoon Network จึงสร้าง Television Programming Block สำหรับฉายการ์ตูนรอบดึกซึ่งมีชื่อว่า “Toonami” ขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่านี่คือช่องที่อัดแน่นไปด้วยการ์ตูนแอคชั่นของอเมริกา และอนิเมะญี่ปุ่น เช่น Sailor Moon, Dragonball Z, Robotech

 

 

 

Partnership ระหว่าง Bandai และ Toonami

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง (1997) ที่ Bandai และ Sunrise กำลังมองหาพาร์ทเนอร์สำหรับการเผยแพร่ Gundam Wing อยู่ และได้ติดต่อไปยัง Cartoon Network และส่งมอบ Mobile Suit Gundam Wing จำนวน 8 ตอนแรกไปให้ทาง Toonami ได้รับชม เรียกได้ว่าส่งงานไปขายเลย

mobile-suit-gundam-wing-bring-anime-franchise-to-success (4)

Sean Akins และ Jason Demarco 2 ผู้ร่วมก่อตั้ง Toonami ได้รับชม Gundam Wing ทั้ง 8 ตอน

และแน่นอนว่าพวกเขาชื่นชอบมากในระดับที่ยืนกรานว่าต้องนำ Gundam Wing ขึ้นฉายทางจอโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกาให้ได้

 

 

 

 

ย้อนกลับมาที่ประเด็น TV Rating System

อย่างที่ได้บอกไปก่อนหน้านี้แล้วว่า ในช่วงเวลายุค 90 นั้นสหรัฐได้เริ่มมีการบังคับใช้กฏหมายควบคุมสื่อสำหรับเด็ก ด้วยผลของกฎหมายดังกล่าว ทำให้เหล่าทีมงานที่อยากนำ Gundam Wing ขึ้นฉายบนจอโทรทัศน์ทำสิ่งที่เรียกว่า “Outstanding Move” เลยทีเดียว

 

 

 

กันดั้มวิงเริ่มต้น “บุกตีตลาดอเมริกาได้สำเร็จ”

mobile-suit-gundam-wing-bring-anime-franchise-to-success (4)

เหล่าทีมงานได้ทำให้ Gundam Wing นั้นมี 2 เวอร์ชั่น เวอร์ชั่นแรกนั้นจะเป็นเวอร์ชั่นสำหรับเด็ก ซึ่งจะตัดฉากที่สื่อถึงความรุนแรง ฉากเลือด อะไรทำนองนี้สำหรับฉายตอนกลางวัน และเวอร์ชั่นที่สองที่เป็น Original หรือ Uncut สำหรับฉายตอนกลางคืน สรุปแล้วกว่าจะได้ออกฉายที่อเมริกานั้นก็คือปี 2000

 

ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ Mobile Suit Gundam Wing นั้นมีกลุ่มตลาด หรือผู้ชมรายการที่เรียกได้ว่ากว้าง แทบจะทุกเพศทุกวัย กลางวันเด็กดูได้ กลางคืนผู้ใหญ่ดูดี

 

และในที่สุด ช่วงท้ายปี 2000 Mobile Suit Gundam Wing ขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในซีรีส์ที่มีเรทติ้งสูงที่สุดของช่อง Toonami จนทำให้ต้องมีการนำภาค Endless Waltz มาฉายต่อเนื่องกันไปอีกขั้น

 

 

 

Bandai เดินหน้ารุกเต็มกำลัง

mobile-suit-gundam-wing-bring-anime-franchise-to-success (5)

ไม่ว่าจะเป็นสินค้าพวกเสื้อผ้า สติกเกอร์ กระเป๋าแบ็คแพ็ค การ์ดเกม รูปแขวนผนัง โปสเตอร์ แอคชั่นฟิกเกอร์ และโมเดลพลาสติกอย่างกันพลา ถูกขนจากประเทศญี่ปุ่นไปตีตลาดอเมริกาในทันทีหลังจากที่ Gundam Wing ประสบผลสำเร็จ   รวมไปถึงการโฆษณาต่างๆที่โดนใจวัยรุ่นอเมริกา ทั้งหมดทั้งมวลนี้ทำให้ Gundam Wing นั้นกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “Mainstream” ในช่วงปี 2000 ไปเลย

 

mobile-suit-gundam-wing-bring-anime-franchise-to-success (6)

 

 

 - บทความโดย NuthSWR

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

Toy Galaxy Youtube Channel 

screenrant

 cbr