P-Bandai : HG 1/144 Gundam Plutone
09 มิถุนายน 2563 10:06 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

hg-gundam-Plutone  (12)

 

 

 

 

hg-gundam-Plutone  (1)

P-Bandai : HG 1/144 Gundam Plutone

Series :  Mobile Suit Gundam 00P

Manufacturer : Bandai

Price :  2,420 เยน (รวมภาษี)  (7xx บาท ราคายังไม่รวมภาษี ค่าส่ง ค่าวางหน้าร้าน และกำไรของแต่ละร้าน)

Release Date : เปิดจอง 9 มิถุนายน 2020  / ส่งสินค้า กันยายน 2020

 

hg-gundam-Plutone  (2)

GNY-004 Gundam Plutone

กันดั้มพลูโตเน่ ปรากฎตัวในกราฟิกโนเวล “Mobile Suit Gundam 00P”  ที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Dengeki Hobby   จัดเป็นหนึ่งในสีของ กันดั้ม 2nd generation  ขององค์กร Celestial Being สามารถนับเป็นต้นแบบของสายการพัฒนากันดั้มเครื่องอื่นๆอย่าง GNY-0042-874 Gundam Artemie, GN-004 Gundam Nadleeh และ GN-005 Gundam Virtue  ตามเนื้อเรื่องระบุว่ามีการประกอบชิ้นส่วนจากโรงงานลับในโคโลนี่ที่ชื่อว่า “กรุงเทพ”  (เป็นการใช้คำว่า “กรุงเทพ” (Krung Thep) ตรงๆ ไม่เกี่ยวอะไรกับประเทศไทย (Bangkok)  โดยชื่อ กรุงเทพ เอามาเพื่อให้เข้ากับธีม “City of Angle”เพราะกันดั้มหลังจาก Gen นี้ไปอีก2รุ่น จะเป็นชื่อของพวกเทวดาแล้ว) โดยชื่อ กันดั้มพลูโตเน่  มาจาก “ดาวเคราะห์พลูโต”

 

hg-gundam-Plutone  (5)

กันดั้มพลูโตเน่  ตามประวัติการสร้าง จะถือว่า “เป็นรุ่นสุดท้ายของ กันดั้ม 2nd generation ที่พัฒนาจากโคโลนี่กรุงเทพ”  โดยมีเบสมาจาก  GN-000 O Gundam   กันดั้ม 1st generation อย่างไรก็ตามเรื่องนี้จริง ๆ แล้วพลูโตเน่ จะเป็นเครื่องที่สามในสายการผลิตที่จะมีการทดสอบภายใน  โดยทาง  Veda ได้ทำการลบข้อมูลของกันดั้มตัวนี้ ทั้งในส่วนของการผลิตชิ้นส่วน สมรรถนะ หรือการทดสอบบางอย่างออกไป และจัดประเภทข้อมูลที่เกี่ยวกับกันดั้มตัวนี้เป็นความลับสุดยอดขององค์กร แม้แต่สมาชิกระดับสูงของโคโลนี่กรุงเทพก็ยังไม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับโมบิลสูทเครื่องนี้ โดยข้อมูลที่รวบรวมจากกันดั้มพลูโตเน่นั้นจะส่งตรงไปยังทีมวิศวกรที่รับผิดชอบในการสร้าง  Gundam Artemie, Gundam Nadleeh, Gundam Virtue ทันที ณ เวลานั้น

 

 

ประสิทธิภาพและความสามารถที่จำเป็นสำหรับโมบิลสูทที่ใช้ใน องค์กรเซเลเชียล บีอิ้ง นั้นแตกต่างจากที่ใช้ในกองทัพของประเทศอื่นอย่างมาก เพราะมีแนวคิด “บรรลุภารกิจอย่างใหญ่หลวงในสนามรบด้วยกำลังรบที่จำกัด” (To accomplish huge achievements on the battlefield with limited units) ทำให้โมบิลสูทของ เซเลเชียล บีอิ้ง จะมีการป้องกัน พลังทำลายล้างที่สูงมาก และผลิตน้อยมากๆ เพราะต้นทุนในการสร้างโมบิลสูทต่อเครื่องสูงนั่นเอง

 

hg-gundam-Plutone  (6)

กันดั้มพลูโตเน่ ใช้  “อนุภาคGN” การควบแน่นของอนุภาคที่ทำให้เกิดอาวุธลำแสงและการพัฒนาของสนามพลัง GN Field ทำให้ มีความสามารถในการป้องกันสูง แม้ว่าเทคโนโลยี  GN Field  จะปรากฏอยู่บนโล่ของ 0 Gundam เป็น ครั้งแรก แต่ “รุ่นบาเรียทรงกลม” ที่คลุมทั้งตัวหุ่นได้รับการปรับใช้ที่ชัดเจนขึ้นในระหว่างการสร้าง Gundam Virtue แต่มีการทดสอบระบบดังกล่าวกับตัว กันดั้มพลูโตเน่ ก่อนนำไปใช้งานจริง ผ่านอุปกรณ์การสร้าง GN Field ติดตั้งทั่วร่างกายของพลูโตเน่เป็นจำนวนมาก (ชิ้นส่วนสีเหลืองทรงกลมนั่นละ)  โดยอนุภาค GN ก็จะถูกป้อนจากแหล่งพลังงานเข้ามา ผ่านสายเคเบิล และจะเป็นตัวปล่อยอนุภาคที่เป็นโล่ป้องกันอีกทีหนึ่ง อนุภาค GN จะถูกปล่อยออกมาและใช้ในการสร้างรูปแบบ  GN Field ทรงกลมที่เข้มข้นมาก จนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ทว่า GN Field ของพลูโตเน่นั้น “ไม่มีความเสถียร” เนื่องจากอยู่ในขั้นการทดลองให้ใช้งานได้หลายสภาพอากาศ หลายสถาณการณ์ จนยังหาจุดที่ลงตัวไม่ได้ ทำให้ได้รับผลกระทบจากสภาพภายนอกได้ง่าย

hg-gundam-Plutone  (7)

เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว ทีมงานวิศวกรจากโคโลนี่กรุงเทพได้จัดทำ  ‘แผนสอง’ (‘Second Plan’)- นั่นก็คือ “เกราะ GN Composite” ซึ่งมีแนวคิดคือการลดระยะทำการของสนามพลัง ด้วยการปรับใช้ GN Field ในพื้นที่จำกัด โดยจะเปิดใช้งานเฉพาะจุดที่ได้รับความเสียหายเท่านั้น แม้แผนนี้จะประสบความสำเร็จในการสร้าง GN Field ที่เสถียร แต่ข้อมูลการสร้างสนามพลัง GN Field  ยังคงอยู่ในตัวเครื่อง เพื่อที่จะนำข้อมูลของพลูโตเ่ไปใช้งานกับโมบิลสูทตัวอื่น และเป็นกรณีศึกษาเรื่องการรับมือกับสนามพลัง GN Field  ที่ไม่เสถียรในอนาคต

 

เมื่อพลูโตเน่ไม่ได้ใช้งานอนุภาค GN ก็จะกักเก็บอนุภาคดังกล่าวเอาไว้ใน GN Condenser ขนาดใหญ่ซึ่งติดตั้งที่ด้านหลังของเอวของโมบิลสูท สิ่งนี้ยังช่วยให้ กันดั้มพลูโตเน่ สามารถเร่งอนุภาคจำนวนมากในเวลาสั้นๆได้ ในช่วงแรกทีมวิศวกรของโคโลนี่กรุงเทพคิดว่าจะใช้ Twin Drive System ที่ใช้ GN Drive 2 เตา  แต่ในไม่ช้า ทีมสร้างก็พบว่าซิงโครไนซ์ GN Drive สองเตานั้นยากเกินไปในทางเทคนิค จึงพับแผนการดังกล่าวไปมากกว่าทศวรรษ จนกระทั่งแนวคิดนั้นก็ได้รับการปัดฝุ่นโดยองค์กรและติดตั้งบน GN-0000 OO Gundam ดับเบิ้ลโอ กันดั้ม ที่ อิโอเรีย เชนเบอร์ก เคยออกแบบอย่างที่เราเห็นกันนั่นเอง

 

hg-gundam-Plutone  (9)

จุดพิเศษที่น่าสังเกตุก็คือ พลูโตเน่ จะมี  Core Fighter ยานบินขนาดเล็กที่สามารถแปลงรูปได้ ซึ่งประกอบด้วย ห้องนักบินของกันดั้มพลูโตเน่และ GN Drive มันมีความสามารถในการกระจายอนุภาคในระดับเดียวกับกันดั้มและก็ค่อนข้างเคลื่อนที่ว่องไวมากๆ ซึ่งทีมงานได้คิดเอาไว้ว่า ในระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน Core Fighter จะถูกดีดออกจากร่างหุ่น และบินออกไปจากเขตสู้รบเพื่อรักษาชีวิตนักบิน แต่ข้อบกพร่องที่สำคัญของ Core Fighter ก็คือการขาดความสามารถในการต่อสู้ แม้ว่าจะสร้างยูนิตฉุกเฉินที่มีเพื่อรักษาชีวิตนักบินนั้น แต่การที่ไม่มีอุปกรณ์สำหรับตอบโต้ หรือใช้ต่อสู้เพื่อเปิดทางหนีนั้นก็ดูจะขัดแย้งกับประสิทธิภาพของหุ่น ความสามารถนักบิน และสถาณการ์ณแห่งการเอาตัวรอด ในที่สุด ระบบ Core Fighter จึงถูกพับเก็บทิ้งไปในการพัฒนาโมบิลสูทตัวอื่นๆ แต่ก็มีการเก็บไอเดีย “การหลบหนีที่ตอบโต้ได้” เอาไว้ และนำมาพัฒนาเป็น Gundam Nadleeh ในเวลาต่อมานั่นเอง…กว่าจะกลับมาใช้ไอเดียของ Core Fighter อีกครั้งก็คือช่วงที่พัฒนา GnW-20000 Arche Gundam โน่นเลย

 

 

hg-gundam-Plutone  (8)

 

 

 

อาวุธ 

hg-gundam-Plutone  (3)

GN Beam Rifle
พลูโตเน่  ใช้ GN Beam Rifle เป็นอาวุธหลัก เช่นเดียวกับ GNY-001 Gundam Astraea ปืนไรเฟิลลำแสงของพลูโทเน่ก็ทำการยิงอนุภาค GN พลังงานสูงได้ โดยรับพลังงานผ่านการเชื่อมต่อกับซ็อกเก็ตปลายแขนระหว่างการใช้งาน ที่ปืนมีเซ็นเซอร์ติดตั้งอยู่ใต้กระบอก และเป็นต้นแบบปืนไรเฟิล GN Beam ของ Gundam Nadleeh  อีกด้วย

 

GN Shield
เนื่องจากมีการใช้อนุภาค GN Field อย่างหนักทำให้ไม่สามารถใช้งานอนุภาคดังกล่าวได้บ่อยครั้ง  ดังนั้น GN Shield ที่ทำมาจาก E-Carbon  จึงถูกนำมาใช้งาน โดยโล่สามารถป้องกันการโจมตีทางกายภาพ และอาวุธประเภทลำแสงได้ และยังเป้นต้นแบของ GN Shield ที่ใช้กับ Gundam Nadleeh ด้วย

 

 

hg-gundam-Plutone  (4)
GN Beam Saber
ในขณะที่หลายประเทศกำลังแข่งกันเพื่อสร้างอาวุธต่อสู้ระยะประชิดด้วยใบมีดพลังงาน แต่ Celestial Being ประสบความสำเร็จในการใช้ อนุภาคGN ด้วยพลังการตัดของ GN Beam Saber นั้นเหนือกว่าใบมีดความถี่สูง Sonic Blade ของ ยูเนี่ยน และ AEUรวมถึงดาบพลาสม่า มันสามารถตัดดาบเหล็กที่เป็นของแข็งได้ด้วยความเข้มข้นของอนุภาค GN  โดย GN Beam Saber จะถูกเก็บไว้ในหัวเข่าของพลูโตเน่ 

 

 

 

 

ระบบปฏิบัติการ Veda-linked OS
ระบบปฏิบัติการของกันดั้มทุกตัวนั้นเชื่อมโยงกับVeda จนทำให้ระบบ OS ของกันดั้ม มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถให้การสนับสนุนการสู้รบของนักบินได้ นอกจากนี้ จริงๆแล้วพลูโตเน่เองก็มีระบบ Trans-Am System (แต่เครื่องพังไปซะก่อนเปิดใช้งาน) และยังมีไม้ตายลับอย่าง “การระเบิดตัวเอง” (Self Destruc) ติดตัวอีกด้วย 

 

hg-gundam-Plutone  (11)

P-Bandai : HG 1/144 Gundam Plutone จาก Mobile Suit Gundam 00P ราคา2,420 เยน เริ่มเปิดจองวันที่ 9 มิถุนายน 2020  และเริ่มการจัดส่งในเดือนกันยายน 2020

 

 

แอดมิน AK47