10 ตัวละคร ‘ป่วยดาบ’ ยอดนิยม จากเกมส์ Touken Ranbu
01 กันยายน 2559 14:11 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

Touken_Ranbu_00

 

Touken Ranbu เป็นเกมส์ออนเว็บ Browsers ของค่าย DMM เดียวกับสาวๆ เรือรบ Kantai Collaction ที่เปิดให้เล่นมาตั้งแต่ปี 2014 และได้รับกระแสตอบรับอย่างท่วมท้น มีผู้เล่นมากกว่า 1 ล้านคนเลยเชียว! ล่าสุด ถูกประกาศทำอนิเมชั่นอย่างเป็นทางการ ภายในงาน AnimeJapan 2016 โดยได้ผู้กำกับ Naoya Takashiจาก Watashitachi, Luck Logic-bu! มาช่วยกำกับให้ด้วยนะ !

 

 

Touken Ranbu จะถูกทำเป็นอนิเมชั่นทั้งหมด 2 ภาค ภาคแรกใช้ชื่อ Touken Ranbu: Hanamaru โดยสตูดิโอ Doga Kobo มีกำหนดฉายในฤดูใบไม้ร่วง 2016 ที่กำลังจะถึงนี้ และภาคสองตามมาติดๆ ในช่วงต้นปี 2017 เหล่าสาวก ‘ป่วยดาบ’ ต้องห้ามพลาด!

 

ระหว่างรอฉบับอนิเมะชั่น แอดมินขอนำเสนอ 10 ตัวละครยอดนิยมของผู้เล่นชาวญี่ปุ่น มาดูกันสิว่าคาแรคเตอร์ดาบ คนไหนที่สาวๆ กร๊าวใจมากที่สุด!!! (ไม่ได้เรียงอันดับนะจ๊ะ)

 

 

 

10 ตัวละคร ‘ป่วยดาบ’ ยอดนิยม จากเกมส์ Touken Ranbu

 

มิคาซึกิ มุเนจิกะ (Mikazuki Munechika)

พากย์เสียงโดย Toriumi Kousuke

 

Touken_Ranbu_01

 

มิคาซึกิ มุเนจิกะ หรือที่เหล่าซานิวะไทยชอบเรียกกันวา ‘ปู่’ เนี้ย เพราะว่ามิคาซึกิคือดาบที่มีความเก่าแก่มาก ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ในยุคเฮอัน(ปีที่ 794-1185) เป็นดาบญี่ปุ่นประเภทดาบยาว (Tachi) ที่มีชื่อเสียงที่สุดของช่าง ซันโจ มุเนจิกะ ที่มาของชื่อดาบว่ากันว่า ลายดาบนั้นมีความงดงามดุจดั่งจันทร์เสี้ยว (มิคาซึกิ=จันทร์เสี้ยว) นอกจากนั้นตัวคาแรคเตอร์ในเกมส์ยังสวมใส่อาภรเก่าแก่ ดูสง่างาม ทรงคุณค่า แถมช่วงท้ายยังมีบทพูดว่า ‘จะเรียกว่าคุณปู่ก็ได้นะ’ ด้วยเหตุนั้นมิคาซึกิจึงถูกจัดให้เป็นหนึ่งในห้าสุดยอดดาบแห่งญี่ปุ่น (Tenka Goken) และยังถูกยกให้เป็นดาบที่มีระดับสูงที่สุดของเกมส์ 

 

 

 

โคกิทสึเนะมารุ (Kogitsunemaru)

พากย์เสียงโดย Kondo Takashi

 

Touken_Ranbu_02

 

โคกิทสึเนะมารุคือดาบญี่ปุ่นประเภทดาบยาว (Tachi)เป็นทรัพย์สมบัติของตระกูลซันโจ มุเนะจิกะ เดิมดาบถูกตีขึ้นจากนิมิตรของจักรพรรดิอิจิโจวในยุคเฮอันตามบทเพลงของละครโนห์ “โคคาจิ” เกี่ยวกับเทพอินาริ ‘เทพจิ้งจอก’ (เทพแห่งความรุงเรืองทางด้านการเกษตร) ดาบนี้จึงได้ชื่อว่า โคกิทสึเนะมารุ (=จิ้งจอกน้อย) เพื่อบูชาเทพอินาริ 

 

 

 

สึรุมารุ คุนินากะ (Tsurumaru Kuninaga)

พากย์เสียงโดย Saito Soma

 

Touken_Ranbu_03

 

สึรุมารุ คุนินากะเป็นดาบที่มีอายุเก่าแก่ ซึ่งคาดว่าถูกสร้างในสมัยเดียวกับมิคาซึกิ (ยุคเฮอัน) เป็นดาบญี่ปุ่นประเภทดาบยาว ตัวดาบความสวยงามเสียจนสร้างเรื่องวุ่นๆ ขึ้น สึรุมารุถูกขโมยไปจากสุสานถึงสองครั้ง ครั้งแรกโดยโฮโจ ซาดาโทกิและอีกครั้งโดยช่างแห่งตระกูลโฮนามิ ในอดีตสึรุมารุถูกส่งมอบอีกหลายต่อหลายมือ  กระทั่งสุดท้ายตระกูลของ ดาเตะ มาซามุเนะก็เป็นผู้ครอบครอง ก่อนส่งมอบให้จักรพรรดินำไปเป็นสมบัติของชาติจนถึงปัจจุบัน 

 

 

 

นาคิคิทสึเนะ (Nakigitsune)  

พากย์เสียงโดย Asamuna Shintarou

 

Touken_Ranbu_04

 

นาคิกิตซึเนะ (=จิ้งจอกหอน) จัดว่าเป็นดาบขนาดมาตรฐานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีคุณค่ามากเนื่องจากตรงตัวด้ามมีลายเซ็นต์ของช่างตีดาบสลักไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งช่างตีฝีมือเยี่ยม อะวะตะกุจิ คุนิโยชิ จากสำนักอะวะตะกุจิ ได้สร้างนาคิกิตซึเนะ ในระหว่างยุคคาวามุระ (ค.ศ.1185-1333) คาแรคเตอร์ของนากิคิทสึเนะ มักจะมีหน้ากากปิดปาก มีนิสัยไม่ค่อยพูด เวลาจะพูดก็จะให้เจ้าจิ้งจอกนั้นที่ติดตามอยู่ตลอดพูดแทน

 

 

โชคุไดคิริ มิทสึทาดะ (Shokudaikiri Mitsutada)

 พากย์เสียงโดย TakuyaSatou

 

Touken_Ranbu_05

 

โชคุไดคิริ มิทสึทาดะ จัดอยู่ในประเภทดาบยาว ถูกตีขึ้นจากจากฝีมือช่างโอซาฟุเนะ ในยุคคามาคุระ (ปี1185-1333) ซึ่งเดิมเคยเป็นสมบัติขของโอดะ โนบุนากะ หลังจากที่โนบุนากะจบชีวิตลง โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ก็ได้เป็นผู้สืบทอดดาบที่สวยงามนี้ต่อ ก่อนจะถูกส่งมอบให้กับ ดาเตะ มาซามุเนะ โชคุไดคิริถูกขนานนามว่า ดาบตัดเชิงเทียน เนื่องจากสามารถตัดเชิงเทียนทองสำริดได้ด้วยการฟันเพียงครั้งเดียว!! (โชคุได=เชิงเทียน คิริ,กิริ =ตัด)

 

 

 

ยามัมบะกิริ คุนิฮิโระ (Yamanbagiri Kunihiro)

พากย์เสียงโดย Maeno Tomoaki

 

Touken_Ranbu_06

 

ยามัมบะกิริ คุนิฮิโระ เป็นดาบขนาดความยาวมาตรฐาน (Uchigatana)ที่ถูกตีขึ้นโดยช่างโฮริคาวะ คุนิฮิโระ ว่ากันว่าดาบนี้เป็นดาบที่สร้างเลียนแบบมาจากดาบ‘ยามัมบะกิริ’ ซึ่งเป็นดาบที่จินซาเอม่อนใช้ปราบแม่มดยามัมบะ(จากนิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในภูเขา) คาแรคเตอร์ของยามัมบะกิริจึงมีผ้าคลุมศีรษะและมักจะชอบตัดพ้อว่า ตัวเองนั้นเป็นแค่ของเลียนแบบ 

 

 

 

ยะเก็น โทชิโร่ (Yagen Toushirou)

 พากย์เสียงโดย SeiichirouYamashita

 

Touken_Ranbu_07

 

ยะเก็น โทชิโร่ เป็นมีดพก (Tantō)ในตระกูลมีดพกโทชิโร่ ซึ่งถูกตีขึ้นโดยช่างทำมีดพกฝีมือฉกาจ อาวาตะกุจิ โยชิมิสึ และได้ชื่อว่าเป็นมีดพกที่จะไม่มีวันทำร้ายเจ้านายตนเองอย่างเด็ดขาด ยะเก็นถูกเปลี่ยนมือจากซามุไรมาแล้วหลายคน จนสุดท้ายตกเป็นสมบัติของ โอดะ โนบุนากะ หนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเซ็นโกคุ โนบุนากะมักจะพกยะเก็นติดตัวไปด้วยเสมอ กระทั่งยะเก็นถูกเผาไปพร้อมๆ กับเจ้านายของตนในครั้งเหตุการณ์ในวัดฮอนโนจิ

 

 

 

นามาซุโอะ โทชิโร่  (Namazuo Toushirou)

พากย์เสียงโดย Saito Soma

 

Touken_Ranbu_08

 

นามาสึโอะ โทชิโร่หนึ่งในดาบสั้น (Wakizashi) ตระกูลโทชิโร่ ที่ถูกตีขึ้นโดยช่าง อะวะตะกุจิ โยชิมิทสึ เช่นเดียวกับพี่น้องโทชิโร่เล่มอื่นๆ ในศตวรรษที่ 13 (ยุคคามาคุระ) นามาสึโอะและโฮเนะบามิเป็นสมบัติของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ เนื่องจากนามาซุโอะเคยถูกไฟไหม้ครั้งตระกูลโทคุกาวะได้ปิดล้อมและทำลายปราสาทโอซาก้า จึงทำให้ตัวดาบเสียหายอย่างหนัก คาแรคเตอร์ภายในเกมส์ของนามาสึโอะจึงกล่าวว่า ‘ความทรงจำบางส่วนได้หายไปจากการถูกเผา’

 

 

 

คะชู คิโยมิทสึ (Kashuu Kiyomitsu)

พากย์เสียงโดย Masuda Toshiki

 

Touken_Ranbu_09

 

คะชู คิโยมิทสึ หรือชื่อเต็ม คะชู คานาซาวะ ซุมิโจเบะเอ ฟูจิวาระ คิโยมิทสึ เป็นดาบคู่มือของโอคิตะ โซจิ ของหน่วยชินเซ็นกุมิ มีความยาวมาตรฐาน ถูกสร้างขึ้นในสมัยเอโดะ ศตวรรษที่ 17 โดยช่างผู้ตีดาบที่มีชื่อเดียวกัน ช่างตีดาบคะชูเป็นกลุ่มคนชนชั้นล่างในสมัยนั้น ซึ่งอาศัยอยู่ในสลัมใกล้กับริมแม่น้ำ คาแรคเตอร์ของคะชูจึงมักบอกว่าตนเป็น ‘บุตรแห่งริมฝั่งน่ำ’ ทั้งคะชูและยาสุซาดะจะ จะมาร่วมเป็นคาแรคเตอร์นำหลักของอนิเมชั่น Touken Ranbu: Hanamaru

 

 

 

ยามาโตะโนะคามิ ยาสุซาดะ (Yamatonokami Yasusada)

พากย์เสียงโดย Ichiki Mitsuhiro

 

Touken_Ranbu_10

 

ยามาโตะโนะคามิ ยาสุซาดะ อีกหนึ่งดาบคู่มือของโอคิตะ โซจิ ของหน่วยชินเซ็นกุมิ เหมือนดั่งเช่นเดียวกับคะชู เป็นดาบความยาวมาตรฐาน ถูกสร้างขึ้นในสมัยเอโดะ ด้วยฝีมือของช่างตีดาบที่มีชื่อเดียวกัน ยาสุซาดะหนุ่มน้อยในชุดหน่วยชินเซ็นกุมิและคะชูจะมารับหน้าที่เป็นคาแรคเตอร์หลักในอนิเมชั่น Touken Ranbu: Hanamaruที่กำลังจะเตรียมลงจอเร็วๆ นี้ อดใจรอชมกันได้เล้ย!

 

 

 

เครดิต :: tourabu-th.wikia.com // dek-d.com // hiyuura.wordpress.com
              yue-ciel.tumblr.com // anngle.org

 

 

BY @OneForAll