Gunpla Tips#7 Diorama /ทำฉากซากตึก หลุมระเบิด / แขวนหุ่นลอยได้
30 ตุลาคม 2558 13:05 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

กันพลา หรือ Gundam Plastic Model ถือเป็นของเล่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่างหนึ่ง ที่นอกจากผู้ต่อหุ่นจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลไกของตัวหุ่นที่ซับซ้อนแล้ว ยังสามารถพัฒนาเป็นงานศิลปะชั้นสูง ที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย จะเห็นได้จากการจัดการจัดงานประกวดผลงานการต่อหุ่นประเภทนี้ ที่ผลงานแต่ละชิ้นมีความสวยงามเกินกว่าจะเป็นของเล่นพลาสติกธรรมดา

 

และในบทความนี้ทีมงานเมทัลบริดจะมาแนะนำเทคนิคเบื้องต้นที่จะทำให้หุ่นพลาสติกกันดั้ม ดูสวยงามสมจริงมากยิ่งขึ้น แต่สำหรับมือใหม่ที่พึ่งเริ่มต่อกันดั้ม ผมขอแนะนำว่าให้ฝึกจากเทคนิคพื้นฐานก่อนครับ 

 

 

Gunpla Tips#1 เทคนิคการต่อหุ่นกันดั้มเบื้องต้น Click

 

Gunpla Tips#2 เพิ่มความสมจริงด้วยการแกะลาย, ปิดรอยประกบ, สีพู่กัน, สีปากกา Click 

 

Gunpla Tips#3 เสริมพาร์ทด้วย Epoxy Putty , Plaplate 

 

Gunpla Tips#4 แอร์บรัช, ไล่เฉดสี , ติดไฟ LED

 

Gunpla Tips#5 การยืดสัดส่วน เพิ่มความสูงของกันพลา

 

Gunpla Tips#6 weathering /เทคนิคทำสีเสมือนจริง / สนิม

 

ในบทความนี้จะเป็นเรื่องของการทำฉากไดโอราม่าที่จะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวให้กับตัวหุ่นของเราได้ดียิ่งขึ้น โดยงานนี้จะใช้เทคนิคเฉพาะตัวที่ทำให้ตัวหุ่นดูเหมือนลอยอยู่กลางอากาศ ซึ่งเป็นวิธีที่ผมคิดขึ้นมาเอง เป็นการการใช้เอ็นใสเส้นเล็กขึงกับโครงสร้างเหล็กเพื่อแขวนตัวหุ่นให้เหมือนลอยขึ้นจากพื้น และทำโครงสร้างตึกมาปิดทับเสาแท่งเหล็กอีกที ซึ่งจะมีเทคนิคการทำไดโอราม่าพื้นฐานด้วยโฟมและปูนพลาสเตอร์อยู่ในบทความนี้ด้วยครับ

 

 

สร้างฐานหุ่นลอยได้

Gunpla-Tips-7-Diorama-(1)

เริ่มที่โครงสร้างหลัก ใช้เหล็กฉากหาซื้อได้ที่ร้านก่อสร้างทั่วไปมาดัดฐานเพื่อยึดติดกับฐานไม้อัดซ้อน 3 ชั้น ยึดติดด้วยน๊อตสกรูปลายแหลม ใช้ไขควงหมุนยึดฐานไม้อัดกับแท่งเหล็กให้แน่นเลย เสร็จแล้วลองใช้ด้ายขึงเสาห้อยตัวหุ่นดู

 

 

ออกแบบโครงสร้างตึกครอบเสาเหล็ก

Gunpla-Tips-7-Diorama-(2)

หลังจากได้เสาเหล็กแล้วก็ต้องมาออกแบบว่าจะวางเสาเข้ากับฉากไดโอรามาแบบไหน ซึ่งสำหรับมือใหม่ แนะนำให้ออกแบบตึกวางขนานตรงๆกับฐานไดโอราม่าจะง่ายกว่า แต่งานนี้ผมออกแบบวางเฉียงเพื่อให้ขอบไดโอราม่าตัดผ่านเห็นโครงสร้างตัวตึก ซึ่งการทำโครงสร้างตึกให้นึกถึงการทำกล่อง ลองออกแบบดูว่าจะทำตึกกี่ชั้นต้องดัดกระดาษออกมารูปทรงไหนบ้าง จำนวนกี่ชิ้น ที่สำคัญเพื่อให้ได้ความสมจริงควรเข้าสเกลด้วย เช่นถ้าใช้ตัวหุ่นขนาด 1/144 ตวามเป็นจริงตัวตึกแต่ละชั้นปรกติสูง 3 เมตรก็จะกลายเป็นสูงชั้นละ 2 cmในงานไดโอราม่า

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(24)

กระดาษที่นำมาใช้สร้างตึก ควรใช้กระดาษแข็งที่มีความหนาพอสมควร เช่นกระดาษอาร์ตบอร์ด หรือกระดาษชานอ้อย ที่นักสถาปนิกนิยมนำมาใช้สร้างโมเดลตึก

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(3)

วางโครงสร้างที่ออกแบบไว้บนกระดาษได้เลย ส่วนเวลาตัดกระดาษอาร์ตบอร์ด และกระดาษชานอ้อย ที่มีความหนาต้องใช้แรงในการกรีดเยอะ แนะนำว่าไม่ต้องใจร้อนให้ใช้ไม้บรรทัดฟุตเหล็กวางทาบแล้วใช้มีดคัทเตอร์ค่อยๆกรีดย้ำๆหลายๆรอบเด๋วก็ตัดขาดได้

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(4)

ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนที่ออกแบบเสร็จแล้วก็ประกอบเข้าด้วยกันโดยใช้กาวช้างหรือกาวร้อนเป็นตัวยึดได้เลย จับหุ่นมายืนเทียบดูรู้สึกได้ถึงความใหญ่ของตัวหุ่นที่สูงประมาณตึก 4-5 ชั้น

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(17)

ทำสีคราบตึกร้าง ที่เดิมโครงสร้างตึกทำมาจากระดาษขาว แล้วนำมาพ่นสีใหม่เป็นตึกเก่าสีออกเทาๆ พร้อมพ่นสีไล่เฉดนิดหน่อย คราบเลอะตามตัวตึกใช้สีตัดเส้นอีนาเมลแต้มแล้วลบส่วนเกินออก

 

 

 

 

ทำฐานไดโอราม่า

Gunpla-Tips-7-Diorama-(6)

โครงสร้างหลักของฐานไดโอราม่า ใช้แผ่นโฟมหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียน เอามาซ้อนกันซัก 3 ชั้นจะได้ความหน้าที่พอดี แต่สำหรับงานนี้ ที่มีฐานไม้อัดเป็นส่วนประกอบด้วย ผมเอาไม้อัดมาแทรกซ่อนไว้ในโฟมชั้น 2 แล้วเอาโฟมชั้นที่ 3 มาปิดทับไปอีกที

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(7)

ทำ Texture พื้นดิน เทปูนพลาสเตอร์ไปบนฐานโฟม แล้วหาอะไรเรียบๆมาใช้เกลี่ยปูนให้เรียบทั่วบริเวณให้ปูนมีความหนาซัก 1 mm หรือมากกว่าก็ได้ ซึ่งถ้าจะจัดแต่งรายละเอียดเพิ่มเติมบนพื้นดิดก็จัดการซะตอนนี้ได้เลย

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(8)

เกลี่ยผงบูนพลาสเตอร์จนทั่วแล้วก็ใช้ หัวพ่นฟ๊อกกี้อันที่เราใช้ตอนรีดผ้านั่นแหละ มาพ่นละอองน้ำให้ทั่ว ทิ้งไว้ซัก 1 ชั่วโมงปูนที่ฉาบไว้ก็แห้งได้ทีพร้อมจะทำสีแล้ว

 

 

 

 

รอยหลุมะะเบิดลึกลงไปในพื้นดิน

Gunpla-Tips-7-Diorama-(9)

ฐานโฟมที่เราซ้อนไว้ 3 ชั้น เจาะให้ลึกลงไปเป็นเพื่อทำเป็นหลุมระเบิด หาเศษโฟมมากันหลุมไว้เพื่อรอเทปูน เสร็จแล้วผสมปูนพลาสเตอร์รอไว้ในอัตราส่วน น้ำ1 ต่อ ปูน1 ซึ่งการผสมสูตรนี้จะมีความข้นพอสมควรและจะแห้งเร็วมาก หลังจากเทปูนแล้วต้องเร่งมือนิดในการจัดแต่งรอยระเบิด

 

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(10)

เทปูนให้เสมอหลุม แล้วเร่งมือนิดเพราะปูนแห้งเร็วมาก เริ่มต้นใช้ส้อมขุดปูนขึ้นมาเป็นรูปทรงหลุม พอปูนเริ่มเซ็ทตัวแล้วให้ใช้ไม้จิ้มฟันหรือไม้เสียบลูกชิ้นค่อยๆขูดหลุมให้เป็นรอยดิน คอยใช้มือกดเศษทีหลุดเป็นชิ้นให้ติดกัน รอจนปูนแห้งดีแล้วก็ทำสีได้เลย

 

 

 

ทำสีพื้นดิน

Gunpla-Tips-7-Diorama-(13)

ก่อนจะลงสีควรจะต้องรู้ก่อนว่าสีอคลิลิคที่ใช้ทินเนอร์เป็นส่วนผสมนั้นมันกัดเนื้อโฟม ถ้าจะพ่นสีอคลิลิคควรบังไม่ให้โดนเนื้อโฟมด้วย ส่วนบริเวณพื้นที่ฉาบด้วยปูนพลาสเตอรไว้ สามารถพ้นสีได้เลย แต่ถ้าฉาบปูนบางเกินไปเนื้อสีอาจจะทะลุไปกัดเนื้อโฟมได้เช่นกัน ถ้าเจอแบบนี้ก็ไม่ต้องตกใจ เทปูนเกลี่ยให้ทั่วอีกรอบพ่นฟ๊อกกี้รอให้ปูนแห้งแล้วพ่นสีใหม่ได้จนกว่าจะพอใจ

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(14)

ทำสีเสร็จเรียร้อยแล้ว งานชิ้นที่ตั้งใจให้ออกมาอารมณ์เหมือนเมืองที่ถูกทิ้งร้างเป็นเวลานาน พื้นดินเป็นกึ่งทะเลทรายแบบในหนังเรื่อง MadMax จึงใช้เป็นพื้นสีน้ำตาล เกลี่ยรัศมีรอยระเบิดเพิ่มเติม พ่นสีไล่เฉดในบางจุด 

 

 

 

ทำเศษซากตึกระเบิด

Gunpla-Tips-7-Diorama-(15)

โครงสร้างตึกที่ออกแบบไว้จะถูกทำลายจากการต่อสู้จนตึกแหว่งไป เพื่อความสมจริงจึงได้คิดทำเศษตึกที่ถล่มลงมาเป็นกองปูนแตกกระจัดกระจายรอบบริเวณด้วย โดยทำจากปูนพลาสเตอร์อีกเช่นเคย ผสมปูนในอัตราส่วน ปูน1 น้ำ2 ให้ได้ความเหลวและผสมสีโปสเตอร์ดำเข้าไปอีกนิดหน่อยให้ปูนออกมาสีเทาเหมือนตัวตึก เทใส่ถาดไว้ให้ได้ความหนาประมาณ 2 mm

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(18)

รอจนปูนที่เทไว้ในถาดแห้งสนิทแล้วกระเทาะออกมา แบ่งเก็บไว้เป็นส่วนที่แตกละเอียด และแบบแตกเป็นชิ้นใหญ่ รอนำไปเทบนไดโอราม่า

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(19)

ก่อนเทเศษปูน เล็งให้ดีว่าเศษปูนมันควรจะตกไปกองที่บริเวณไหนบ้าง

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(20)

เริ่มเทเศษปูนที่ละเอียดก่อน แล้วค่อยเทชิ้นใหญ่ตาม แล้วเทชิ้นเล็กปิดท้ายอีกที ชิ้นที่กระเด็นไปผิดตำแห่งก็ใช้ลมปากเป่าไล่ไปตรงจุดที่ต้องการได้

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(21)

ดูกันชัดๆอีกกมุม เศษซากตึกที่พังทลายจากการต่อสู้ของ โมบิลสูท

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(22)

รอยระเบิดที่พื้นจากกระสุนบีมไรเฟิล ขอให้ไม่มีผู้เคราะห์ร้ายจากแรงระเบิดครั้งนี้นะ

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(23)  

ปิดงานด้วยการวางกันพลาเข้ากับฉากไดโดราม่า ฐานลอยตัวพิเศษที่ออกแบบใหม่ในงานชิ้นนี้จะใช้ เส้นเอ็นใสเส้นเล็กที่ใช้ร้อยลูกปัดมาขึงตัวหุ่นให้ลอยได้

 

 

 

และนี่คือผลงานไดโอราม่าที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว

ขอตั้งชื่อว่า Final Battle ซึ่งงานชิ้นนี้ได้นำไปจัดแสดงด้วยที่งาน 

Gunpla Builders World Cup Thailand 2015 

By Metalbridges

 

 

 

Gunpla-Tips-7-Diorama-(25)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(26)     

Gunpla-Tips-7-Diorama-(31)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(32)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(33)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(34)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(35)   

Gunpla-Tips-7-Diorama-(41)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(44)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(46)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(48)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(49)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(50)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(30)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(28)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(29)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(27)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(36)

Gunpla-Tips-7-Diorama-(39)

 

 

จากที่กล่าวไปตอนต้นว่า การต่อกันดัมนั้นคืองานศิลปะ จึงมีเทคนิคการสร้างผลงานอีกมากมาย ใครสนใจจะอ่านต่อ ช่วยแสดงตัวที่ด้านล่างด้วยนะครับ

 

 

By Webmaster

 

 

บทความ Gunpla Tips ทั้งหมด

Gunpla Tips#1 เทคนิคการต่อหุ่นกันดั้มเบื้องต้น Click

Gunpla Tips#2 เพิ่มความสมจริงด้วยการแกะลาย, ปิดรอยประกบ, สีพู่กัน, สีปากกา Click 

Gunpla Tips#3 เสริมพาร์ทด้วย Epoxy Putty , Plaplate 

Gunpla Tips#4 แอร์บรัช, ไล่เฉดสี , ติดไฟ LED

Gunpla Tips#5 การยืดสัดส่วน เพิ่มความสูงของกันพลา

Gunpla Tips#6 weathering /เทคนิคทำสีเสมือนจริง / สนิม

Gunpla Tips#7 Diorama /เทคนิคทำฉาก / แขวนหุ่นลอยได้