Gunpla Tips#6 weathering /เทคนิคทำสีเสมือนจริง / สนิม
19 มิถุนายน 2558 20:44 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

กันพลา หรือ Gundam Plastic Model ถือเป็นของเล่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่างหนึ่ง ที่นอกจากผู้ต่อหุ่นจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลไกของตัวหุ่นที่ซับซ้อนแล้ว ยังสามารถพัฒนาเป็นงานศิลปะชั้นสูง ที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย จะเห็นได้จากการจัดการจัดงานประกวดผลงานการต่อหุ่นประเภทนี้ ที่ผลงานแต่ละชิ้นมีความสวยงามเกินกว่าจะเป็นของเล่นพลาสติกธรรมดา

 

และในบทความนี้ทีมงานเมทัลบริดจะมาแนะนำเทคนิคเบื้องต้นที่จะทำให้หุ่นพลาสติกกันดั้ม ดูสวยงามสมจริงมากยิ่งขึ้น แต่สำหรับมือใหม่ที่พึ่งเริ่มต่อกันดั้ม ผมขอแนะนำว่าให้ฝึกจากเทคนิคพื้นฐานก่อนครับ 

 

Gunpla Tips#1 เทคนิคการต่อหุ่นกันดั้มเบื้องต้น Click

 

Gunpla Tips#2 เพิ่มความสมจริงด้วยการแกะลาย, ปิดรอยประกบ, สีพู่กัน, สีปากกา Click 

 

Gunpla Tips#3 เสริมพาร์ทด้วย Epoxy Putty , Plaplate 

 

Gunpla Tips#4 แอร์บรัช, ไล่เฉดสี , ติดไฟ LED

 

Gunpla Tips#5 การยืดสัดส่วน เพิ่มความสูงของกันพลา

 

Gunpla Tips#7 Diorama /เทคนิคทำฉาก / แขวนหุ่นลอยได้

 

ในบทความนี้จะเป็นเรื่องของการทำสีเสมือนจริงและคราบสนิม ซึ่งถือว่าเป็นการทำสีขั้นแอดวานซ์กว่าการทำสีตามแบบการ์ตูนอนิเมะ ซึ่งการจำทำสีเสมือนจริงได้นั้นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานหลายปัจจัย เช่น โทนสี/จุดนูนที่เกิดการถลอก/มุมตกกระทบของแสง/ความงาม และอื่นๆ ซึ่งบอกได้เลยว่าไม่ง่ายนักที่จะทำให้ออกมาดูดีได้  แต่ถ้าทำออกได้รับรองว่ากันดั้มของเราจะมีความโดดเด่นขึ้นมาทันที ด้วยมิติที่เป็นเรียลลิสติกไม่ใช่การ์ตูนอีกต่อไป

 

 1100-gundam-double-x-review-14

หุ่นต้นแบบที่เราจะทำการแปลงโฉมในวันนี้ก็คือ GX 9901 DX  Gundam Double X นั่นเอง ซึ่งเจ้าตัวนี้เป็นโปรเจคของเราที่นำเอา แอดมิน 3 คน มาทำการดัดแปลง DX ในแบบฉบับของตัวเอง ซึ่งในกันพลาทริปตอนที่ 5 นี้ จะเน้นย้ำเรื่องการ การทำสีเสมือนจริงและสนิมและเทคนิคการทำสี weathering ซึ่งต้องเปลี่ยนโทนสีเดิมของ DX ซะก่อน เนื่องจากจุดที่เป็นสีเข้ม(ดำ) จะทำสีเลอะ/โคลน/สนิม  ได้ยาก  สภาพก่อนทำการโมดิฟาย Click

 

 

วางแผนออกแบบ DX ซะใหม่

  1. สีโครงภายในทำสีเหล็ก
  2. เสริมพาร์ทเสริมเข้าไปที่ แขน/ขา/หัวใหล่
  3. สีดำตามตัวเปลี่ยนเป็นสีครีม
  4. ทำสีเสมือนจริง (สนิม)

 

 

 

สีโครงภายในทำสีเหล็ก

 เริ่มต้นจากโครงในของหุ่น ที่เราจะทำสีให้เป็นสีเหล็ก โดยการ พ่นสี Gunmetal ของ ทามิย่าก่อนแล้วใช้เทคนิค ดรายบรัช (Dry Brush) ด้วยสี โครมซิลเวอร์ของทามิย่า อีกที

 DX custom (5)

โครงเดิมๆ ของ DX ทำออกมาได้สวยงาม แต่ยังเป็นสีเดียวที่ขาดมิติของความสมจริง

 

 

Dry Brush คือ ???

เทคนิดการทำสี ดรายบรัช คือการใส่สีแห้ง-หมาด ทำสีลงชิ้นงานที่ผิวแห้ง  อย่างในงานชิ้นนี้ เราจะผสมสีให้มีความหนืดพอสมควร แล้วทำการปัดพู่กันกับกระดาษจนสีบนพู่กันเกือบจะแห้ง ถึงเอามาปัดลงบนชิ้นงาน ตามจุดนูนและพื้นผิวของหุ่นให้พองาม

 

DX custom (13)

 

หลังจากพ่นสี gunmetal โครงมาแล้วก็ผสมสี chrome silver  ให้พอเหนียวๆ ไม่ข้นหรือเหลวจนเกินไป

 

DX custom (14)

นำพู่กันจุ่มสีแล้วนำมาปัดกับกระดาษให้สีพอหมาด

 

DX custom (15)

ปัดสีลงชิ้นงาน ตามความเหมาะสม ดูเรื่องแสงเงาและมุมตกกระทบดีๆ

 

DX custom (16)

ทำทั้งตัวกันเลยทีเดียว

 

DX custom (18) DX custom (19)

หลังจากปัดสีเหล็กเพิ่มเข้าแล้ว ตัวหุ่นจะดูมีมิติมากขึ้น

 

DX custom (20)

เก็บงานด้วย Gundam Marker สีทองในส่วนของท่อพลังงาน และจุดอื่นๆที่ต้องการ

 

 

 

เสริมพาร์ทเสริมเข้าไปที่ แขน/ขา/หัวใหล่

 DX custom (6)

จุดที่เราจะทำการเพิ่มพาร์ทเสริมเข้าไป

DX custom (11) DX custom (12)

ปั้นชิ้นงานแล้วปิดด้วยพลาสติกเพลท หากไม่มีใช้ไม้โปรฯ แทนก็ได้ ราคาถูกด้วย แล้วเก็บงานให้เรียบร้อย

เรียนรู้วิธีการทำได้ที่  Gunpla Tips#3 

 

 

 

สีดำตามตัวเปลี่ยนเป็นสีครีม

DX custom (7)

วางแผนเปลี่ยนสีตามนี้

 

 

 DX custom (8)

ทำสีส่วนที่เป็นสีทองตามปกติ

 

 DX custom (21) DX custom (23) DX custom (22) DX custom (24)

หลังจากพ่นรองพื้นแล้วก็ลงสีด้วยพู่กันซัก 2-3 รอบ  แต่ต้องระวังอย่าให้สีหนาจนเกินไป งานจะออกมาไม่สวย

 

 

 

 

ทำสีเสมือนจริง (สนิม)

 

การทำสนิม

ในการทำสนิมของเราต้องเตรียมอุปกรณ์เพิ่มเติมดังนี้

1. สีน้ำตาล (แอดใช้สีน้ำตาลแดง X9 สูตรอีนาเมล ของทามิย่า)
2. สีดำ (แอดใช้สี Gunmetal X10 สูตรอีนาเมล ของทามิย่า เพื่อทำให้สีสนิมมีประกาย)
3. ฟองน้ำ

***ที่เลือกใช้สีสูตรอีนาเมลเนื่องจากหากลงสีพลาดแล้วเราสามารถลบสีที่เลอะออกได้ง่าย

 

 

ขั้นตอนการทำคราบสนิม

 

 

1. ผสมสีน้ำตาลและดำตามที่ต้องการ (ให้ออกน้ำตาลแดงเข้มก็พอ)

2.ใช้พู่กันจุ่มสีทาลงบนฟองน้ำที่เตรียมไว้

DX custom (1)

ทาให้พอหมาดระวังอย่าให้ฟองน้ำเปียกหรือชุ่มสีเกินไป

 

3.นำฟองน้ำชุ่มสีแตะลงบนแผ่นกระดาษจนกว่าจะได้เม็ดสีที่พอใจ (ควรจะเล็กมากๆ)

DX custom (2)

วิธีการดูว่าใช้ได้คือ สังเกตุว่าสีที่แตะลงกระดาษจะไม่ชื้นและสีสนิมจะไม่อยู่ติดกันจนเกินไป

 

4.นำฟองน้ำมาแตะบนชิ้นงานตามต้องการ (เน้นช่วงที่นูนมากๆ)

 DX custom (3)

 เทคนิคคือไล่คราบสนิมตรงขอบและเน้นส่วนนูนของหุ่นให้มากกว่าจุดที่เป็นแผ่นเรียบ

 

เสร็จแล้วทำการปัดซ้ำด้วย Tamiya weathering master เซต B  สีสนิม(Rust) อีกครั้งเพื่อเก็บงาน

DX custom (73)

 

ซึ่งการเก็บงานด้วย Tamiya weathering master ช่วยให้งานมีมิติสวยงามได้มากขึ้น 

ข้อดีคือใช้งานได้ง่าย   

ข้อเสียคือราคาอาจจะแพงซักหน่อย (ประมาณ300-400บาท)

 

DX custom (9)

 

นี่คือการทำสีธรรมดา

 

DX custom (10)

 

เมื่อเก็บงานด้วย Tamiya weathering master สีสนิม(Rust)  ซ้ายมือจะเห็นว่ามีมิติที่สวยขึ้น

 

และนี่คือผลงานที่ผ่านการเสริมพาร์ทและทำสีเสมือนจริงเข้าไปแล้ว

Gundam Another Double X

 

DX custom (25) DX custom (36) DX custom (40) DX custom (43) DX custom (45) DX custom (46) DX custom (55) DX custom (56) DX custom (58) DX custom (67)DX custom (69)DX custom (66)DX custom (65)DX custom (63)DX custom (50)DX custom (58)DX custom (47)

 

กันพลานั้นก้าวเกินไปกว่าคำว่าของแล่นไปแล้ว มันคืองานฝีมือ+งานศิลปะ ที่ผู้เล่นต้องใส่ใจในรายละเอียดและหามุมมองใหม่ ความรู้ใหม่ๆ มาดัดแปลงเสมอ ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกฝนและความรักกันพลาเป็นอย่างมาก การทำสีเสมือนจริงนี้เป็นเหมือนการเปลี่ยนจากหุ่นการ์ตูนให้กลายเป็นหุ่นที่มีสมจริงมากยิ่งขึ้น ซึ่งทางทีมงานก็จะหาเทคนิคใหม่ๆ เอามาให้เพื่อนๆได้อ่านกันในโอกาศต่อๆไป ยังไงก็ฝากติดตามผลงานด้วยนะครับ

 

By : Master Blacksmith 

 

 

บทความ Gunpla Tips ทั้งหมด

Gunpla Tips#1 เทคนิคการต่อหุ่นกันดั้มเบื้องต้น Click

Gunpla Tips#2 เพิ่มความสมจริงด้วยการแกะลาย, ปิดรอยประกบ, สีพู่กัน, สีปากกา Click 

Gunpla Tips#3 เสริมพาร์ทด้วย Epoxy Putty , Plaplate 

Gunpla Tips#4 แอร์บรัช, ไล่เฉดสี , ติดไฟ LED

Gunpla Tips#5 การยืดสัดส่วน เพิ่มความสูงของกันพลา

Gunpla Tips#6 weathering /เทคนิคทำสีเสมือนจริง / สนิม

Gunpla Tips#7 Diorama /เทคนิคทำฉาก / แขวนหุ่นลอยได้