ประเภทต่างๆของเบย์เบลด [ของเล่น / ออกใหม่]
11 กรกฎาคม 2565 14:58 น.
Share on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+

beyblade anime (9)

Beyblade – เบย์เบลด คืออะไร!?

เบย์เบลด เป็นของเล่นจากบริษัท Takara Tomy ที่ผลิตขึ้นในช่วงปี 1999 เป็นของเล่นที่ดัดแปลงจาก “ลูกข่าง” ของเล่นที่มีมาช้านาน แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ ใส่ลูกเล่นของ “การถอดประกอบ” และ “กฎ กติกาการแข่งที่ชัดเจน” จึงทำให้เบย์เบลด กลายเป็นของเล่นที่ได้รับความนิยมในสมัยนึง ทั้งในไทย และ ญี่ปุ่น

 

beyblade anime (29)

ในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลเบย์เบลด จากการ์ตูนเรื่อง “Beyblade : เบย์เบลด ศึกลูกข่างสะท้านฟ้า” ที่ออกฉายทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ทุกวัน เสาร์- อาทิตย์ ด้วยเนื้อหาที่สนุก และบทบาทของเบย์เบลดที่เท่ และน่าจดจำ ทำให้เด็กๆในสมัยนั้นพากันซื้อเบย์เบลดมาปั่นเล่นกันสนุกสนาน ทั้ง เบย์เบลดแท้ และ เบย์เบลดจีน รวมไปถึงพวกงาน เบย์เบลดเหล็กไทยประดิษฐ์ ที่โหด และอันตรายเกินกว่าของเล่นและเป็นข่าวเด็กโดนเบย์เบลดเฉาะหัว ก็มีให้เห็นพอสมควร  

 

แต่พอการ์ตูนจบ ทุกอย่างก็จบลง ความนิยมก็เริ่มเสื่อม และหายไปจากสังคมไทยในที่สุด…ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ระหว่างที่เราเลิกเล่นกันนั้น  ที่ต่างประเทศยังคงมีการจัดแข่งทัวร์นาเม้นท์น้อยใหญ่ติดกันหลายปี

 

Beyblade Type 4

 

ภาพจากเพจ KcToy Beyblade Official ไทย

 

จาก “เบลดเดอร์”(นักเล่นเบย์เบลด) เด็กน้อย สู่วัยทำงาน หาเงินได้ ก็ได้เจียดเงิน เวลาส่วนหนึ่ง ให้เบย์เบลดเป็นกิจกรรมทำยามว่าง เป็นงานอดิเรกเล่นสนุก ซึ่งคนกลุ่มนี้เอง ที่คอยเป็นแหล่งพลังให้วงการเบย์เบลดในระดับโลกยังพอมีหนทางไปต่อได้ มีอนิเมภาคใหม่ ของเล่นใหม่ และเด็กๆผู้เล่นหน้าใหม่ ถึงวัยเก๋ามาเล่นกันอย่างสนุกสนานตลอดสิบกว่าปีมานี้ 

 

beyblade anime (18)

ในส่วนเรื่องราวของเบย์เบลด แอดมินคงไม่ขอกล่าวถึงในบทความนี้ แต่ถ้าอยากติดตาม ทำความรู้จักกับเนื้อหาคร่าวๆ ก็สามารถคลิกเข้ามาอ่านเพิ่มเติมได้ในลิ้งค์นี้ครับ 

https://www.metalbridges.com/beyblade/ 

 

 

Beyblade Type

ในส่วนของบทความนี้จะพาทุกท่านย้อนวัย กลับไปทำความรู้จักกับหนึ่งในของเล่นในตำนาน “เบย์เบลด” ว่ามีกี่ชนิด แบบไหนยังไงบ้าง ซึ่งถ้าดูผิวเผินแล้ว เบย์เบลด เป็นของเล่นที่ไม่มีอะไรมาก ก็แค่เอา “ลูกข่างมาชนกัน”…

 

ใช่ครับ เนื้อเแท้มันเป็นแบบนั้นจริงๆ  แต่ถ้าเราลองสละเวลามาศึกษาจริงๆจังๆแล้ว  เบย์เบลดไม่ได้เป็นแค่การเอาลูกข่างมาชนกัน มันมีเรื่องของการปรับแต่ง การโมดิฟายเข้ามา รวมไปถึงไทป์(ประเภท)ต่างๆ ก้สร้างความแตกต่างในการเล่นให้มีมิติขึ้นอีกด้วย 

 

 

 

ส่วนผสมของเบย์เบลด 1 ลูก

 

Beyblade Type 14

Bit Chip (ในเบย์เบลดยุคเก่า)

เป็นส่วนตกแต่งรูปสัตว์ในตำนานตามท้องเรื่องของการ์ตูนเบย์เบลด ในปัจจุบัน บิทชิป ได้กลายเป็น “เคลียร์บิท” ชิ้นส่วนใสครอบตัวเลเยอร์ไปแล้ว 

 

Beyblade Type 16

Layer (หรือ “Attack Ring” ในเบย์เบลดยุคเก่า)

แอทแทคริง คือส่วนที่ได้รับแรงปะทะจากเบย์เบลดคู่ต่อสู้มากที่สุด เลย์เยอร์บางชิ้นมีคุณสมบัติของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น , หน้าสัมผัสที่น้อยลงเพื่อลดการปะทะ หรือ ใบมีดซ้อนเพิ่มหน้าสัมผัสให้ถี่ขึ้น เป็นต้น  และยังเป็นจุดที่เป็นเอกลักษณ์และแสดงถึงความสวยงามของเบย์เบลดลูกนั้นๆอีกด้วย

 

Beyblade Type 15

ในปัจจุบัน สินค้า “เบย์เบลดเบิร์ส” (Beyblade Burst) จะรวมเอา “บิทชิป” และ “แอทแทคริง” มารวมกันเป็นชิ้นเดียว แล้วเรียกรวมๆว่า “เลเยอร์” แทน

 

 

Beyblade Type 17

Weight Disk

เวทดิสก์ (แผ่นถ่วงน้ำหนัก) เป็นวัสดุที่ทำจากเหล็ก มีน้ำหนัก ส่วนจะมากน้อย ขึ้นอยู่กับประเภท และดีไซน์ เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนของเบย์เบลดในแง่ของการขับเคลื่อน และสมดุลย์ในการหมุน

 

ในปัจจุบัน สินค้า “เบย์เบลดเบิร์ส” ได้ออกแบบเวทดิสก์ใหม่ (เรียกสั้นๆว่า “ดิสก์”) ให้สามารถเป็นแอทแทคริงเสริมจากชั้นกลางได้อีกด้วย

 

Beyblade Type 18

Driver (หรือ Blade Base ในเบย์เบลดยุคเก่า)

เบลดเบส คือฐานของเบย์เบลด ที่เป็นจุดชี้วัดความสมดุลย์ในกาหมุนแทบจะทั้งหมด ในยุคแรกเบย์เบลดมีฐานหมุนที่เป็นพลาสติก มีแกนยื่นๆพ้นตัวเบย์เบลดค้ำโครงเท่านั้น ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำแกนหมุน ก็จะต่างกันไปเช่น การใช้ยางเพิ่มแรงเหวี่ยง หรือจะเป็นแกนพลาสติกเพื่อเพิ่มแรงหมุน บางครั้งก็ใช้แกนเหล็กเพิ่มความเร็วในการปะทะ เป็นต้น

Beyblade Type 19

 แต่ต่อมา เบลดเบส ได้รับการอัพเกรดจนสามารถใส่ “Spin Gear” (สปินเกียร์) อุปกรณ์หนึ่งที่ช่วยรักษาบาลานซ์จากฐาน และทำงานสอดประสานกับ เวทดิสก์ หรือในบางครั้งสปินเกียร์เป็นตัวที่สามารถเซตติ้งทิศทางการหมุนได้อีกด้วย บางตัวถึงขั้นอัดสปริงจนสามารถกระโดดได้

 

Beyblade Type 20

และ เบลดเบส ก็ได้อัพเกรดเป็น “Driver” ในปัจจุบัน ได้รับพัฒนาต่อยอด และได้ใส่ “ระบบเบิร์ส” ที่เป็นเกลียวล๊อก และดีดชิ้นส่วนออกจากกันเมื่อได้รับความเสียหายหนักๆ(จุดประสงค์ของระบบเบิร์ส ก็คือการเร่งให้เกมจบเร็วขึ้น) ซึ่งไดรเวอร์ในปัจจุบันเองก็มีมากมายหลายประเภท และลักษณะการใช้งานที่ต่างกันไปด้วย…

 

—————————————————————————-

 

ลักษณะของเบย์เบลดแต่ละยุค

Beyblade Type 9

“BEYBLADE ไตรภาคแรก ตำนาน 4 สัตว์เทวะ”

เป็นมาตรฐานแรกสุด เข้าใจง่าย และคุ้นตาคนไทยมากที่สุด เพราะเป็นรุ่นบุกเบิกตลาดเบย์เบลดในไทย ไม่มีการประกอบซับซ้อน เบย์เบลดบางลูกมีลูกเล่นการกระโดด การหมุนสวนทิศทาง หรือแรงถ่วง

 

Beyblade Type 11

-Magnacore System (MG)

Magnacore เปิดตัวครั้งแรกในภาค  V-Force จุดขายหลักคือ “ระบบสปินเกียร์” และแผ่นเวทดิสก์ที่มีส่วนผสมของแม่เหล็กเพื่อดูด หรือผลักในส่วนของแอทแทคริง และบางสนามเบย์เบลดของไลน์การผลิตนี้ จะมีชิ้นส่วนที่เป็นแม่เหล็กติดมา ทำให้เกิดแนวทางการเล่นที่ต่างออกไปด้วย

 

Beyblade Type 10

-Engine Gear System (EG)

หลักๆยังมีส่วนประกอบคล้ายกับเบย์เบลดยุคแรก แต่ส่วนที่อัพเกรดที่สุดก็คือ สปินเกียร์ ที่ได้เปลี่ยนไปใช้ ระบบ Turbo Winder เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนเกียร์ที่อยู่ด้านใน เมื่อหมุนไปได้ระยะหนึ่ง ตัวเกียร์จะทำการปลด “ระบบล็อคคลัทช์” ภายในตัวฐานเบลดเบส

 

และเบย์เบลดไลน์นี้ เป็นไลน์สุดท้ายที่ผลิตด้วยชิ้นส่วนพลาสติก (ยกเว้นดิสก์น้ำหนัก)  เพราะหลังจากนี้จะเข้าสู่ยุคของเมทัลไฟท์ ที่ใช้ส่วนประกอบเป็นโลหะ หรือ กึ่งโลหะแล้ว…

 

—————————————————————————-

 

Beyblade Type 8

“METAL FIGHT BEYBLADE”

ยุคที่สอง ซึ่งจริงๆแล้วยังซอยออกมาหลายสายหลายรุ่น แต่ขอกล่าวถึงรวมๆก็คือ เป็นเบย์เบลดที่มีส่วนผสมของเหล็กตามชื่อนั่นละครับ ง่ายๆเลย 

 

-Hard/Heavy Metal System (HMS)

จุดขายของไลน์นี้เลย คือการอัพเกรดเบย์เบลดชนิดยกเครื่อง จัดเต็มตั้งแต่วัสดุ ระบบ  และทาง Takara Tomy เคลมมาว่า เป็นรุ่นที่สามารถทำความเร็วของแรงหมุน แรงเหวี่ยง และแรงปะทะมากกว่ารุ่นเก่า 1.5-2 เท่า!!

 

Beyblade Type 7

-Hybrid Wheel System (HWS)

ไลน์นี้ได้รับการปล่อยตัวในปี 2008 ในประเทศญี่ปุ่นและในปี 2010 ทั่วโลก โดยทาง Hasbro เปลี่ยนชื่อเป็น Performance Top System ชูจุดขายด้วยแนะนำส่วนประกอบใหม่ที่ทำให้ เบย์เบลดมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งวัสดุโดยรวมของเบย์เบลดไลน์นี้ทำจาก “โพลีคาร์บอเนต” และมีพื้นผิวสัมผัสที่กว้างขึ้น  

 

จุดสำคัญของเบย์เบลดต่อจากยุคนี้ ก้คือการเรียกชื่อรุ่น ไม่มีแล้ว มังกรฟ้า หงษ์แดง แต่จะมีความหมายการเรียกขานชื่อเยบย์เบลกตามการปรับแต่งแทน

 

Beyblade Type 3

ตัวอย่าง เช่นรุ่น Storm Pegasus 105RF 

-Storm Pegasus หมายถึง เพลทบนสุดคือชื่อสตอร์มเปกาซัส

105 หมายถึง มีดิสก์ถ่วงเหล็กขนาด 10.5 mm 

-RF หมายถึง ใช้เบลดเบส ที่มี Rubber Flat (ยางแบน) นั่นเอง

 

 

Beyblade Type 5

-4D System

Beyblades ระบบ 4D ถูกนำเสนอในปี 2011 ป็นการขยายตัวของระบบ Hybrid Wheel System ซึ่งนำเสนอชิ้นส่วนใหม่ได้แก่ 4D Fusion Wheel และ 4D Bottom นอกจากนี้ชิ้นส่วนพลาสติกของเบย์เบลดโดยรวมทำจากวัสดุที่แข็งแรงขึ้น รับแรงปะทะได้ดี พังยากขึ้นนั่นเอง

 

——4D Fusion Wheel ถูกนำมาแทนที่ในการแข่งขันตามมาตรฐานในยุคนั้น เป้นเบย์เบลดที่มีหลากหลายวัสดุ และชิ้นส่วน บางชิ้นเป็นเหล็กหล่อ บางชิ้นเป็นโพลีคาร์บอเนท บางรุ่น มีสองอย่างในเชิ้นเดียวกันก็มีให้เห็น

 

 ——4D Bottom แทนที่กลไกการหมุนของ Hybrid Wheel System  เช่นการเปลี่ยนลักาณะการโจมตีในระหว่างการต่อสู้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องถอดชิ้นส่วน แต่จะขึ้นอยู่กับแรงการหมุนของเบย์เบลดแทน และยังมีบางรุ่นใช้ระบบลูกปืนเข้ามาอีกด้วย

 

Beyblade Type 6

-Zero G

ระบบ Zero G ยังคงใช้ระบบ Hybrid Wheel System โดยสามารถใช้ชิ้นส่วนที่เข้ากันได้ เบย์เบลดรุไลน์นี้ มีวิศวกรรมด้านการออกแบบเช่นเดียวกับ Spin Track และ Performance Tip ที่เคยมีมาในสองไลน์ก่อนหน้า แต่จะมีมวลความหนาของตัวเบย์เบลดมากกว่า และหมุนได้เร็วขึ้นอีกเท่าตัว…

 

—————————————————————————-

 

Beyblade Type 13

“BEYBLADE BURST”

-Burst System

เนื่องจากการแข่งเบย์เบลดในยุคก่อนหน้า จะกินเวลาค่อนข้างนาน ราวๆ 1-2 นาที / รอบ ทำให้ทาง Takara Tomy ได้ให้ทีมวิศวกรออกแบบเบย์เบลดรุ่นใหม่ที่สามารรถทำให้รู้ผลแพ้ชนะได้เร็วยิ่งขึ้น และผลลัพธ์ก็คือ “ระบบเบิร์ส” นั่นเอง

 

Beyblade Type 12

หลักการทำงานของเบย์เบลดเบิร์ส จะต่างจากเบย์เบลดรุ่นก่อนๆพอสมควร เช่นปรับดีไซน์ให้ดูสวยงาม และ “การใช้ระบบแกนสปริงรุ่นใหม่” ที่สามารถดีดชิ้นส่วนเบย์เบลดของตัวเองให้หลุดจากกันเมื่อได้รับความเสียหายหนักๆ เป้นการจบเกมที่เร็ว และทันใจมากๆ อีกทั้งการปรับแต่งยังทำได้ง่ายกว่ารุ่นก่อนหน้า และรองรับแอพลิเคชั่นเกมบนโทรศัพท์มือถือผ่านการสแกนโค้ดที่ซ่อนในชิ้นส่วนต่างๆ รวมไปถึงกริปจับที่ได้รับการออกแบบใหม่ให้ใช้งานง่ายขึ้น และสายดึงที่ไม่ยาวจนเกินไป แต่แรงหมุนสูงมากด้วยหน้าสัมผัสที่ใหญ่นั่นเอง…

 

 

 

การแบ่งประเภทของเบย์เบลด

สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท 4 รูปแบบการใช้งานดังนี้

Beyblade Type 2

ผังอธิบายแพ้ทาง เอาคร่าวๆก็คือ สาย Defense ชนะ Attack / สาย Attack ชนะ Stamina / Stamina ชนะ Defense

 

ส่วนสาย Balance จะเป็นสายสมดุลย์ที่สุด คือไม่แพ้ แต่ก็ไม่ชนะใครโดยตรง สามารถปรับแต่งได้อิสระ และเทน้ำหนักไปทางใดทางหนึ่งได้

 

 

Beyblade Type 25

Attack

Attack  เป็นหนึ่งใน 3ไทป์หลักของเบย์เบลด จุดเด่นของเบย์เบลดประเภทนี้คือการโจมตีที่หนักหน่วง และมีความเร็วสูง แต่ข้อเสียของสายนี้ก็คือมีระยะเวลาการหมุนที่สั้นมาก และเป็นไทป์ยอดนิยมของพระเอกการ์ตูนเบย์เบลดทุกภาค หรือวายร้ายในเรื่องระดับบอส หรือเรียกง่ายๆว่า  “สายพระเอก” นั่นเอง

 

กลยุทธ์ของเบย์เบลดสายนี้คือการโจมตีเป้าหมายโดยการลดความแข็งแกร่งทั้งหมด หรือชนให้ออกจากสนาม หรือหมดสภาพก่อนที่เวลาหมุนของตัวเองจะหมดลง ลักษณะเด่นชัดของสายโจมตีก็คือ “ฐานของเบย์เบลดจะทำมาจากพลาสติก และ มีแนวโน้มที่จะใช้ Attack Rings ที่ออกแบบมาพร้อมกับส่วนยื่นสั้นๆที่มีลักษณะกว้าง “ เพื่อที่จะจัดการกับศัตรูโดยสร้างความเสียหายให้ได้มากที่สุด

Beyblade Type 21

ด้วยเหตุนี้ประเภท Attack  จึงมาเพื่อแก้ทางสาย Stamina เพราะความอึดของสายสตามิน่า จะหมุนนานที่สุด แต่ก็แลกกับน้ำหนักที่เบา และง่ายต่อการถูกเคาะจนออกจากสนามไป อย่างไรก็ตามสาย Attack เองก็แพ้ทาง สาย Defense ที่สามารถป้องกันการโจมตีประเภทต่างๆ แต่ก็ไม่ได้ผลเสมอไป

 

ข้อเสียอีกประการหนึ่งสำหรับสาย Attack  คือส่วนยื่นสั้นๆที่มีลักษณะกว้าง ที่ใช้โจมตี เพราะส่วนยื่นจะสร้างจำนวนการปะทะที่สูง จนเกิด “แรงสะท้อน” (Recoil – รีคอยล์) จนหมดแรงหมุน วิธีแก้แรงรีคอยล์ที่ทาง Official แนะนำก็คือการใช้  Metal Face Bolt  ที่มาจากภาคเมทัลไฟท์ หรือภาค V-force บางรุ่นนั่นเอง

 

 

Beyblade Type 22

Defense 

Defense  เป็นเบย์เบลดประเภทที่มุ่งเน้นการป้องกันการถูกเคาะจนออกจากสนาม  โดยรวมแล้วสายป้องกันจะเน้นน้ำหนัก และวงแหวนถ่วงรอบตัวจะมีความลาดชันเล็กน้อย โดยเป้าหมายของการป้องกันคือแก้ทางสายโจมตีที่พยายามจะเคาะให้เบย์เบลดออกจากสนาม แต่สายป้องกันจะเน้นอยู่ในสนาม และมักจะหมุนอยู่กลางสนามเสมอ

 

เบย์เบลดสาย Defense จำเป็นต้องมีน้ำหนักถ่วงที่มาก เพื่อให้สามารถรองรับการโจมตีได้นาน ดังนั้นการเพิ่มเพลทโลหะเช่น MF-2 Heavy ช่วยให้เพิ่มน้ำหนักเพิ่มขึ้น  หรือจะทำคอมโบ ประกอบชิ้นส่วนได้มากมาย จะไปในสายป้องกันล้วนด้วยการใส่เพลทหนัก หรือจะผสมพลังโจมตีลงไปในส่วนของแอทแทคริง เพื่อล้มสาย Stamina ก็สามารถทำได้ เป็นอีกสายที่มีความหลากหลายในการปรับแต่งพอสมควร

 

Beyblade Type 24

Stamina 

Stamina เป็นเบย์เบลดที่ออกแบบมาเพื่อแก้ทางสายป้องกัน ด้วยน้ำหนักที่เพียงพอจนรักษารอบการหมุนให้คงที่  บาลานซ์การเทน้ำหนักส่วนใหญ่ของสายนี้ อยู่ที่ขอบด้านนอกเพื่อช่วยรักษาแรงเหวี่ยง ใบ

 

ถึงจะบอกว่ามีแรงเหวี่ยงสูง แต่พลังการโจมตีเรียกได้ว่าต่ำมาก และไม่สามารถต้านทางสายโจมตีล้วนๆได้เลย ฉะนั้น สายนี้มาเพื่อหมุนให้นาน หมุนให้ทน แล้ววัดดวงว่าคู่ต่อสู้จะหมดแรงไปเองรึเปล่า

 

 

Beyblade Type 23

Balance

สายนี้จะไม่เด่นทางใดทางหนึ่ง ที่ระบุไว้ข้างต้นเลย แต่มีคุณสมบัติในการ ผสานคอมโบชิ้นส่วนข้ามสายได้อิสระกว่า

 

 

—————————————————————————-

 

Beyblade Type 26

ผ่านไป 10 กว่าปี กับของเล่นที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของใครหลายๆคนอย่าง “เบย์เบลด”  แต่หลายๆคนอาจจะหลงลืมไปบ้าง ก็หวังว่าในบทความนี้จะช่วยรื้อฟื้น กระตุ้นต่อมอยากเล่นบ้างไม่มากก็น้อย อย่างตอนนี้ แอดมินจัดมาแล้ว 1 ชุดมาเล่นกันในสำนักงานกันเลย แถมกฎเกณฑ์ต่างๆในการเล่นก็พัฒนา เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย 

 

ขอตัวไปเล่นเบย์เบลดต่อนะครับ  3..2…1… Go…SHOOT!!

 

แอดมิน Ak47